นักแสดงทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯอานัส ฬาพานิชกันตะ กัลย์จาฤกสาริน บางยี่ขันอนุวัฒน์ นิวาตวงศ์เมื่อพระองค์ดำหรือพระนเรศวรได้เสด็จหนีจากหงสาวดีมาสู่กรุงศรีอยุธยาได้นำ ชาวไทใหญ่ จำนวนหนึ่งมาด้วย นั่นคือ เจ้านางมณีจันทร์และเจ้านางมณีอิน ตลอดจนขุนแสนกล้า นักรบของเจ้าไทใหญ่ อีกทั้งยังมีเจ้านายของกรุงศรีอยุธยาร่วมมาในขบวนครั้งนั้นด้วยคือ พระองค์หญิงพิจิตรจินดา กับเดือน ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงและเป็นสนมของพระราเมศวร การกลับมาของพระองค์ดำ ทำให้พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมหาธรรมราชาและพระเอกาทศรถหรือพระองค์ขาว ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งพระองค์ดำครองรักกับเจ้านางมณีจันทร์ แล้วเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ดำทรงคิดอยู่ตลอดเวลาเรื่องที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของหงสาว ดี จึงได้จัดหาทหารฝีมือดีมาร่วมทัพ แล้วทรงเปลี่ยนกลศึกจากการยกพลจำนวนมหาศาลเข้าปะทะข้าศึก ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้การรบเยี่ยงกองโจร ทหารฝีมือดีนั้น ต่อมาได้ร่ำเรียนพิไชยสงครามกับขุนเมืองผู้เป็นอาจารย์ของพระองค์ดำ มีจำนวน 6 คน คือ มิ่ง เที่ยง บุญ เพิ่ม ขวัญ ขาม และมีขุนแสนกล้าอีกผู้หนึ่ง รวมเป็นทหารเอกคู่พระทัย 7 คนส่วนทางหงสาวดี ก็ไม่ไว้ใจกรุงศรีอยุธยา เพราะรู้กิตติศัพท์ของพระนเรศวรเป็นอย่างดีว่ามีความกล้าหาญเพียงใด จึงหาทางทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อยกกองทัพมาก็พ่ายกรุงศรีอยุธยา ทุกครั้ง ทำให้เมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองประเทศราช ต่างคิดแข็งเมืองกันมังกะยอชะวาทุบตีตองชเว ผู้เป็นมเหสี ทำให้พระเจ้าอังวะ พระราชบิดาของตองชเวไม่พอใจ แข็งเมืองเป็นขบถ จันทรากับสุวรรณฉัตรสายเครือของอังวะจึงถูกเนรเทศออกไปจากหงสาวดี เมื่อทั้งสองกลับมายังอังวะ พร้อมกับนินตยาวดีมเหสีของสุวรรณฉัตรด้วย นันทบุเรงก็ใช้ให้เมืองประเทศราชทั้งหลายยกทัพไปตีอังวะ พระนเรศวรแกล้งเดินทัพช้าๆ เพื่อรอให้พระเจ้านันทบุเรงทำศึกกับพระเจ้าอังวะถึงแพ้ชนะก่อน มังกะยอชะวารักษาเมืองอยู่ ออกอุบายให้พระยาเกียรติกับพระยาราม ขุนนางมอญมาคอยรับ พระนเรศวรที่เมืองแครงพร้อมทั้งไพล่พล และมีกลศึกว่าทั้งสองคน ลวงพระนเรศวรไปฆ่าให้จงได้ ทั้งสองเคยสนิทกับพระนเรศวรมาก่อน จึงนำความไปเล่าให้พระมหาเถรคันฉ่องฟัง พระมหาเถรคันฉ่องมาเฝ้าพระนเรศวรแล้วทูลให้ทรงทราบ พระนเรศวรโกรธและประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดีอีกต่อไปพระเจ้านันทบุเรง ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายครั้ง แต่ก็พ่ายกลับไปทุกครั้ง การพ่ายแพ้ของหงสาวดี ทำให้เมืองประเทศราชทั้งหลายต่างแข็งเมืองขึ้น ภายในเมืองหงสาวดีก็เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยเจ้ายะไข่ได้ส่งธิดามาถวายพระเจ้านันทบุเรง ทำให้ศุภยา พระอัครมเหสีไม่พอใจมาก รวมถึงเจ้านางสุวนันทาด้วย ยะไข่ได้ใช้ธิดาของตนเป็นสื่อดึงฟิลิป เดอบริโต พ่อค้าชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในเมืองหงสาวดี และมีอิทธิพลทางการเมืองต่อหงสาวดีเป็นอย่างมาก ขณะที่พระนเรศวรได้รู้จักกับเซปาสเตียน ฝรั่งชาวสเปน ที่เข้ามาสอนการใช้ปืนไฟให้พระนเรศวรพระมหาธรรมราชาสวรรคต พระนเรศวรขึ้นครองราชย์ แล้วทรงแต่งตั้งพระเอกาทศรถเป็นพระอุปราช มุขมนตรีและเจ้านายชั้นสูงในสมัยพระมหาธรรมราชาได้ถวายหญิงงามเชื้อสาย ราชวงศ์สุพรรณภูมิพระองค์หนึ่ง เป็นพระชายานามว่า “มณีรัตนา” เจ้านางมณีจันทร์น้อยพระทัย แต่ไม่แสดงออก ส่วนราชวงศ์สุโขทัย โดยท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ถวายนางที่มีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยเป็นพระสนมเอก นามว่า “เจ้าแก้วปทุม” ทั้งนี้ท้าวศรีจุฬาลักษณ์คิดแค้นที่มิได้รับความรักจากพระมหาธรรมราชา จึงส่งหลานสาวมาแก้แค้นแทนตนทำให้กรุงศรีอยุธยาวุ่นวาย ส่วนขุนเมือง ได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าพระยาสุรสีห์” ครองเมืองพิษณุโลกแทนพระนเรศวรต่อมาในปี พ.ศ.2135 หงสาวดียกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา เกิดการทำยุทธหัตถีขึ้น มังกะยอชะวาสิ้นพระชนม์บนหลังคชาธาร เจ้าสังขทัต เจ้าเมืองตองอู ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของพระเจ้านันทบุเรง นำความมากราบทูล ทำให้พระเจ้านันทบุเรงโกรธมาก เสวยน้ำจัณฑ์จนเมามาย แล้วใช้พระแสงดาบจ้วงฟันพระสุพรรณกัลยา ผู้เป็นพระมเหสีสิ้นพระชนม์พร้อมด้วยพระโอรสน้อย และพระธิดา รวมถึงท้าววรจันทร์และแม้น ผู้เป็นพี่เลี้ยงด้วย รวมถึงพระอินทรเทวีกับสุข ซึ่งคิดหนี แต่ก็ไม่อาจรอดพ้นความตายไปได้ ข่าวสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา ทำให้พระวิสุทธิกษัตรีย์ถึงแก่ประชวร แต่ภายหลังก็ทรงเข้มแข็งและเป็นกำลังใจให้แก่พระราชโอรส เพื่อรอเวลาแก้แค้นให้พระสุพรรณกัลยาเสร็จศึกหงสาวดี พระนเรศวรทรงยกกองทัพไปตีเมืองละแวก จับนักพระสัฎฐาได้ แล้วกวาดต้อนครัวละแวกมาเป็นเชลยได้จำนวนมาก ในครั้งนั้นพระนางเอกกษัตรีย์ ธิดาพระยาละแวกถวายตัวเป็นพระสนมของพระนเรศวร ทำให้เจ้าแก้วปทุมไม่พอใจเป็นอย่างมาก หาทางกลั่นแกล้งเอกกษัตรีย์ มณีรัตนาวางตนสมเป็นพระอัครมเหสี เป็นที่ต้องพระทัยของพระวิสุทธิกษัตรีย์เป็นอย่างมากพ.ศ.2138 พระนเรศวรตัดสินพระทัยไปตีเมืองหงสาวดี ได้ตั้งล้อมเมืองอยู่ถึง 3 เดือน แต่ต่อมาได้ข่าวศึกว่ากองทัพพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าสังขทัตแห่งเมืองตองอูยกทัพมาช่วย เห็นว่าเหลือกำลังรี้พลจึงเสด็จยกทัพกลับ แต่พระเจ้าแปรยกทัพมาช้า ทำให้นันทบุเรง โกรธมาก พระเจ้าแปรตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อหงสาวดีเจ้าสังขทัตโอรสพระเจ้าตองอู เห็นว่าหงสาวดีกับแปรแตกแยกกัน ขณะเดียวกันก็เกรง พระบารมีของพระนเรศวรอยู่ด้วย จึงคิดจะมาเข้าพวกกับกรุงศรีอยุธยา โดยวางแผนว่าเมื่อพระนเรศวรตีกรุงหงสาวดีแตกตนก็อาจได้ครองหงสาวดี จึงลอบแต่งทูตให้นำบรรณาการมาถวายพระนเรศวร และให้ทูตกราบทูลว่าหากยกทัพไปตีหงสาวดีเมื่อใด ตนจะช่วยรบ ขณะเดียวกันเจ้าสังขทัตก็ติดต่อกับยะไข่ ซึ่งประกาศตนเป็นศัตรูกับหงสาวดี ให้เจ้ายะไข่นำบรรณาการมาถวายพระนเรศวรด้วยเช่นกัน ทั้งนี้พระเจ้า ยะไข่ต้องการหัวเมืองมอญที่อยู่ปากน้ำอิระวดีเป็นอาณาเขต พระนเรศวรจึงเตรียมรี้พลไปตีหงสาวดี อีกครั้งหนึ่ง โดยให้พระยาจักรีคุมกองทัพล่วงหน้าไปสะสมเสบียงที่เมาะลำเลิงก่อนแผนการของเจ้าสังขทัตล้มเหลวเพราะที่ตองอูมีมหาเถรองค์หนึ่ง ชื่อ พระมหาเถรเสียมเพรียม ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระเจ้าสังขทัตได้ทูลทัดทานไว้ พระเจ้าสังขทัตทรงเชื่อแล้วทำตามคำยุยงของมหาเถรผู้นี้ โดยให้แต่งคนออกมาเที่ยวลวงพวกมอญที่เมาะตะมะว่าจะถูกทหารกรุงศรีอยุธยาจับ ชาวมอญจึงพากันหลบหนี และเกิดการขบถขึ้น ขณะเดียวกันกองทัพยะไข่ก็ล้อมเมืองหงสาวดี ข่าวเรื่องพระนเรศวรกำลังยกทัพใหญ่มา ก็ยิ่งทำให้พระเจ้านันทบุเรงกลัวยิ่งขึ้น เจ้าสังขทัตอาสายกทัพไปช่วยหงสาวดีรบ แต่ความจริงแล้วไปทำกลลวง ให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความหวาดกลัว ครั้น นันทบุเรงไปขอให้สุวรรณฉัตร ซึ่งไปอยู่ที่อังวะช่วย สุวรรณฉัตร ก็วางเฉย เช่นเดียวกับมังนรธาสอ ที่ไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็สวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา ถึงกับส่งพระโอรสมาเป็นองค์จำนำอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยาด้วย เจ้านันทบุเรงจึงอยู่ในภาวะโดดเดี่ยว ในที่สุดก็ยอมยกให้เจ้าสังขทัตผู้เป็นหลานได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนต่อมาเจ้าสังขทัตลวงพระเจ้านันทบุเรงออกจากหงสาวดีไปอยู่ที่ตองอู กองโจรยะไข่เข้าเมืองหงสาวดีได้ก็เผาจนหมดเมือง พระนเรศวรยกทัพมาเหลือแต่เมืองร้างก็พิโรธมาก ต่อมาเจ้าสังขทัต เอายาพิษให้พระเจ้านันทบุเรงเสวยสวรรคต สังขทัตได้ครองตองอู ส่วนทางอังวะเมื่อเจ้าสุวรรณฉัตรทรงทราบว่าพระเจ้านันทบุเรงสวรรคตก็ตั้งตัว เป็นกษัตริย์ครองอังวะสืบมา และขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางพระนเรศวรสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์ทรงอยู่ในกองทัพมากกว่าในพระราชวัง ทรงเสี่ยงพระองค์เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของบ้านเมือง ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์นั่นเอง ที่ทำให้พระองค์มีชัยจนได้รับการขนานนามว่า “มหาราชกู้แผ่นดิน”