ไผ่แดง เป็นนวนิยายแนวเสียดสีสังคม บทประพันธ์ดัดแปลงหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2497 โดยได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เป็นตอน ๆ จนจบ และต่อมาได้นำมาตีพิมพ์รวมเล่มอีกมากกว่า 18 ครั้ง และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากกว่า 9 ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เวียดนาม พม่า เป็นต้นไผ่แดงดัดแปลงจากหนังสือชื่อ โลกใบเล็กของหลวงพ่อดอน คามิลโล (The Little World of Don Camillo) แต่งโดย โจวานนี กวาเรสกิ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2491ไผ่แดงเป็นนวนิยายในแนวเสียดสีสังคมและการเมืองในสมัยที่การใช้นโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ใน สมัยนั้น โดยที่ท่านผู้ดัดแปลงบทประพันธ์ได้ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้ง ปฏิกิริยาระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ ในลัทธิใหม่และลัทธิเก่า อุดมการณ์ทางการเมือง โดยรัฐบาลใช้นโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างสับสนอลหม่าน โดยที่มีคำสั่งแปลก ๆ และพิศดารจากฝ่ายรัฐให้ประชาชนปฏิบัติ โดยที่ประชาชนเองยังไม่มีความรับรู้และเข้าใจในความหมายของคำว่า "คอมมิวนิสต์" เลยโดยเฉพาะในสังคมชนบทที่ห่างไกลจากแหล่งความรู้คือเมืองหลวงในสมัยนั้น"สมภารกร่าง" พระเจ้าอาวาสวัดไผ่แดง ผู้ครองตัวเป็นสมณเพศในร่มเงาศาสนา แต่ก็ยังหลงเหลือสิ่งที่เรียกว่า กิเลส เนื่องจากยังไม่หลุดพ้นจากวังวนที่วุ่นวายในโลกียะ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จึงเป็นที่มาของเสียงในใจจาก พระประธานิ เสมือนการถ่วงดุลความคิดขั้วตรงข้าม 2 ขั้ว ที่ตอบโต้กันในจิตของคนๆเเดียว ผู้อื่นมิได้ล่วงรู้ ด้วยวัฒนธรรมชาวบ้านกับวัดซึ่งผูกพันใกล้ชิดกัน สมภาร จึงเป้นหลักพักพิงแก่ผู้อื่น ทั้งทางโลกและ.ทางธรรมด้วยสติปัญญาและ.การแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าในหลายๆเเหตุการณ์ ที่อ่านแล้ววางหนังสือไม่ลงจริง เจ้า "แกว่น" สหายเก่าแก่ของสมภารกร่างตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อแกว่นกลายเป็นผู้ล้มเหลวในการดำเนินชีวิตจากเมืองหลวง แต่เขามีเพื่อนที่ช่วยปลอบใจให้ไปโทษระบบสังคม ระบบศักดินา แทนที่จะโทษตัวเอง ก็คือเหนังสือ ปลุกระดม คอมมิวนิสต์ ทั้งหลายแหล่ ซึ่งทำให้เขายึดมั่นในอุดมการณ์ต่างขั้วที่เขาเองก็ไม่เข้าใจถึงความหมายที่ แท้จริง จนถึงขนาดลืมสำนึกถึงผิด ชอบ ชั่ว ดี และ.ความเป็นจริงของชีวิต แต่สุดท้าย เสรีชนอย่างเขาก็ยอมจำนนต่อความรัก ความผูกพันและ.ความดีของผู้คนชาวไผ่แดงที่มีต่อเขา โดยเฉพาะ ท่านสมภาร กำนันเจิม และ.พวกลูกสมุนของเขา ส่วน กำนันเจิม ผู้นำชายขราหัวเก่า ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนผู้เฒ่าผู้แก่ของชุมชนไผ่แดง ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบและ.ความ รู้สึกผูกพันกับลูกบ้านที่เปรียบประหนึ่งลูกหลานของตนเอง แต่กลับได้รับความเดือดร้อนจากการยุยงปลุกปั่นชาวบ้านของเจ้าแกว่นอยู่ เนืองๆเสุดท้าย สมภารกร่างต้องต่อสู้กับ คอมมิวนิสต์ ด้วยความดีทั้งปวงที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา จนกระทั่งเจ้าคอมมิวนิสต์ที่ว่านี้ ก็อ่อนแรงลงไป แต่กลับมีศัตรูตัวใหม่ขึ้นมา คือเลัทธิทุนนิยม ผู้ซึ่งถูกเจ้าตัวกิเลส โลภ เข้าครอบงำ